Ownership
สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างไร ให้เกิด Ownership
คุณจะบริหารจัดการบุคลากรในแต่ละสาขาของเราอย่างไร ให้สามารถส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี รวมไปถึงควบคุมต้นทุนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินไปได้เป็นอย่างดี และเกิดกำไร คุณเองในฐานะเจ้าของ หรือผู้บริหารของร้าน/หน่วยธุรกิจ คงไม่สามารถทำทุกอย่างทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพียงลำพัง
ในบทความนี้จะนำเสนออีกมุมมอง เพื่อทำให้บุคลากรที่เป็นตัวแทนในการบริหารสาขา ดูแลลูกค้า สามารถบริหารจัดการร้านค้า/หน่วยธุรกิจ ได้เหมือนกับที่คุณมาบริหารจัดการเอง นั่นคือการสร้างให้เกิด “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” เพื่อให้บุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ เกิดความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของ
ความหมายของ Ownership
“Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” คือการให้พนักงานของคุณ มีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ร่วมกับคุณ เช่น
- การตั้งเป้าหมายในการทำงาน
- การหาวิธีการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- การหากระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถส่งมอบสินค้า หรือบริการได้ดีมากยิ่งขึ้น
- การยอมรับฟังความคิดของทีมอย่างจริงใจ
- การให้อิสระทางความคิด
- การให้อำนาจในการตัดสินใจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบของการทำงาน
Ownership ขับเคลื่อนธุรกิจ
การสร้างให้เกิดวัฒนธรรม “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ในองค์กร สามารถขับเคลื่อนองค์กร หน่วยธุรกิจ ร้านค้า ร้านอาหาร ให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
เมื่อพนักงานมีความรู้สึกว่าตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร จะส่งผลให้การกระทำที่แสดงออกมาในการทำงานเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น เต็มใจ พร้อมที่จะยอมรับ และรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้พวกเขาจะเกิดความพยายามในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ยังไม่รู้ เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ ให้กับตัวเอง เพื่อให้สามารถ นำความรู้ต่างๆ เหล่านั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน มีความทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น พยายามที่จะพัฒนาความสามารถ และใช้อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่องค์กรต้องการ
การปลูกฝัง Ownership ให้กับบุคลากร
การปลูกฝัง “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ให้กับบุคลากรของคุณไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ได้ยากเกินไป สำหรับหัวหน้า หรือผู้จัดการ สิ่งที่ท้าทาย คือความจริงใจของคุณที่จะนำไปปฏิบัติ และทำให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
ต่อไปนี้ คือข้อมูลที่จะช่วยสร้างและผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมของ “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ในองค์กร
1. Vision, Mission, Value ต้องชัดเจน และสื่อสารไปถึงทุกคน
ควรสื่อสารเกี่ยวกับ Vision, Mission, Value และเป้าหมายต่างๆ ขององค์กร ให้กับพนักงานทุกคนรับทราบ ก่อนที่จะเริ่มต้นทำงาน ทั้งยังต้องนำมาพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการติดตามการทำงานของว่าเป็นไปตาม Mission Vision หรือ เป้าหมายที่องค์กรได้สื่อสารออกไปหรือไม่ เพื่อสร้างให้พนักงานของคุณรับรู้ว่า สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ และคุณมีความจริงจัง มุ่งมั่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่คุณได้สื่อสารออกไป
2. การมีส่วนร่วมในการทำงาน
การให้พนักงานมีส่วนร่วม ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การได้นำเสนอแนวคิด การดึงเอาความรู้ต่างๆ และข้อคิดเห็นของพนักงาน เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญ
3. ต้องให้พนักงานเข้าใจ Vision, Mission, Value อย่างถ่องแท้
ไม่ใช่แค่การสื่อสาร Vision, Mission, Value และเป้าหมายต่างๆ ขององค์กรเท่านั้น แต่ คุณควรอธิบายด้วยว่าทำไม? เพราะเหตุใดงานนั้นถึงต้องทำให้สำเร็จตามมาตรฐานหรือเป้าหมาย และเพราะอะไรคุณจึงเลือกให้เขาเหล่านั้นรับผิดชอบงานสำคัญต่างๆ เหล่านี้
4. ให้โอกาสพนักงานได้คิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
ให้พวกเขาได้มีโอกาสคิดและเลือกวิธีในการทำงานด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการทำให้ให้เป้าหมายต่างๆ นั้นสำเร็จ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณให้โอกาส ให้อำนาจในการตัดสินใจ กระตุ้นให้พวกเขาได้คิด และเลือกวิธีการว่าเขาเหล่านั้นจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร เมื่อเขาสามารถมองเห็นผลลัพธ์ของงานที่จะประสบผลสำเร็จได้ เขาจะกำหนดกระบวนการในการทำงาน และคิดหาวิธีที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงได้ดีกว่าการที่ถูกกำหนดวิธีการและให้พนักงานของคุณนำไปปฏิบัติ ซึ่งในตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างให้เกิด “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ในตัวพนักงาน
5. ให้ความเอาใจใส่ และพร้อม Support เมื่อพวกเขาต้องการ
เมื่อคุณให้พวกเขาคิดและเลือกวิธีในการทำงานด้วยตัวเอง จนเกิดการตัดสินใจที่จะนำวิธีการนั้นๆ ไปลงมือปฏิบัติ คุณไม่ควรปล่อยให้พนักงานของคุณทำงานนั้นๆ เพียงลำพัง หน้าที่ของคุณยังคงต้องให้ความเอาใจใส่กับพวกเขา ในระหว่างที่มีการนำวิธีการต่างๆ ที่ได้ตัดสินใจไปลงมือปฏิบัติ เพราะวิธีการที่พนักงานหรือทีมคุณได้เลือกนำไปปฏิบัติอาจจะยังไม่ใช่วิธีการที่ดี อาจยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุง แก้ไข ซึ่งหากคุณเห็นแล้วยังปล่อยไป อาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้
ดังนั้นคุณจึงควรเข้าไปแนะนำวิธีการที่เหมาะสม โดยอย่าเพิ่งนำเอาประสบการณ์ หรือความคิดของคุณในฐานะหัวหน้า หรือผู้บริหาร เข้าไปจัดการสถานการณ์นั้นๆ แต่สิ่งที่คุณควรปฏิบัติ คือการให้คำแนะนำ โดยเริ่มต้นด้วยการถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาหาวิธีในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ช่วยให้พวกเขามองเห็นโอกาส หรือวิธีการใหม่ๆ ที่สามารถเป็นทางเลือกได้มากขึ้นกว่าการคิดในครั้งแรก เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการ และนำไปสู่ผลลัพธ์ขององค์กรในที่สุด
เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการให้คำแนะนำ โดยเริ่มต้นด้วยการถามคำถาม
ปลดล็อคศักยภาพลูกน้องด้วย Coaching 1
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ ทัศนคติของการเป็นโค้ช ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการโค้ช ได้แก่ การฟัง การยอมรับ และการตั้งคำถาม เรียนรู้การฟังที่มีประสิทธิภาพ และการยอมรับอีกฝ่าย นอกจากนี้ ในบทเรียนจะมีการฝึกทักษะการฟัง และการยอมรับอีกฝ่าย ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะพื้นฐานก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธีการตั้งคำถามในหลักสูตร ปลดล็อคศักยภาพลูกน้องด้วย Coaching 2
ปลดล็อคศักยภาพลูกน้องด้วย Coaching 2
ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการตั้งคำถาม เพื่อใช้ในการโค้ช ซึ่งคำถามที่ดีจะไปกระตุ้นผู้ที่ถูกโค้ชให้ก้าวไปข้างหน้า ในบทเรียนจะมีการฝึกวิธีการตั้งคำถาม และการเล่นบทบาทสมมติ เพื่อให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติจริงตามหลักของการโค้ช ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจว่าตนเองจะต้องปรับปรุงทักษะใดในการโค้ชเป็นพิเศษ เพื่อที่จะนำการโค้ชไปพัฒนาลูกน้องของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มอบอำนาจหน้าที่และอิสระในการควบคุม
“Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ไม่ใช่แค่การให้ความรับผิดชอบกับพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมอบอำนาจหน้าที่ ให้กับพนักงานด้วยเช่นกัน การที่พนักงานมีอิสระในการควบคุมสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ก็เป็นการส่งเสริมให้เกิด “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ได้อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวอย่างของการมอบอำนาจหน้าที่ ได้แก่
- การให้เขาทำหน้าที่เป็นผู้นำการประชุมในวาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่เขารับผิดชอบ
- การให้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในงานที่ได้รับมอบหมายโดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากหัวหน้าก่อนทุกครั้ง
ซึ่งเป็นการสร้างให้พวกเขารับรู้ได้ว่างานนั้นมีความหมาย เขาเองมีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ และรู้สึกว่าตัวเขามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร อีกส่วนที่สำคัญของการมอบอำนาจหน้าที่ เป็นการฝึกภาคปฏิบัติ ที่ทำให้พนักงานมีความพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า เติบโตตามสายงาน มีมุมมองที่กว้างขึ้น และสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าได้อย่างมั่นใจ
7. ให้ความเชื่อมั่นในตัวพนักงาน
คุณต้องเชื่อมั่นในพวกเขา ความเชื่อมั่นที่คุณมีต่อพนักงานจะทำให้พวกเขามีความมั่นใจ ซึ่งการทำให้พนักงานรับรู้ว่าคุณมีความเชื่อมั่นใจตัวพวกเขาขนาดไหน ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งสำคัญที่จะทำให้พนักงานของคุณเกิดการพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบางครั้งในฐานะหัวหน้าหรือผู้บริหาร ก็ต้องเสี่ยงหรือลองที่จะสร้างความเชื่อมั่นในตัวพนักงานก่อน เพื่อเป็นการผลักดันให้พนักงานสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง ซึ่งบางทีมันก็คุ้มที่คุณจะเชื่อมั่นในพวกเขา
8. ให้คำชมเชยและข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์
ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร คุณยังจำเป็นต้องให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ การให้คำชมเชย และการให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุง และนำไปสู่การพัฒนาความรู้และทักษะการทำงาน ซึ่งการให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์นี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณรับรู้ว่าพนักงานของคุณกำลังทำอะไร
เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการให้คำชมเชยและข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์
เติมแรงฮึดให้ลูกน้องด้วยการชมเชย
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “วิธีการชมเชย” และ “วิธีการตักเตือน” หลักการนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องในที่ทำงาน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลูกน้องมีพฤติกรรมด้านบวกในการทำงาน ในบทเรียนจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการชม หรือพูดตักเตือนผู้อื่น และรู้ถึงหลักคิดที่ทำให้พูดชมผู้อื่นได้ง่ายขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้และสร้างวัฒนธรรมการชมเชยให้เกิดขึ้นกับองค์กร
9. ให้รางวัลที่เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
สุดท้าย คือการให้รางวัลที่เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หรือการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณซาบซึ้ง และขอบคุณในความมุ่งมั่นในการสร้างผลลัพธ์ของพวกเขา เป็นการสร้างให้พวกเขารู้สึกภูมิใจ มั่นใจ และรู้สึกถึงการได้รับการยอมรับ ซึ่งรางวัลที่ดีอย่างหนึ่ง คือการเพิ่มระดับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นในตัวพวกเขามากขึ้น รวมถึงการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของพนักงาน
การสร้างวัฒนธรรม “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ” ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม การทำให้พวกเขารับรู้ถึงการมีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานมากขึ้นเท่าไหร่ ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การสร้างวัฒนธรรม “Ownership หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ”
เทคนิคการมอบหมายงาน สร้างทีม สร้างความเป็นเจ้าของงาน
ในการทำงาน หากการมอบหมายงานของหัวหน้ามีประสิทธิภาพ ก็จะได้ผลของงานที่เสร็จสมบูรณ์และมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองและประสิทธิภาพของสมาชิกในทีมได้อย่างมาก ซึ่งทำให้การทำงานที่จะได้รับมอบหมายครั้งต่อไปมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในหลักสูตรนี้คุณจะได้เรียนรู้
- การมอบหมายงานช่วยหัวหน้า รับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ (งานเยอะ เวลาไม่พอ ติดขัด งานไม่มีประสิทธิภาพ) ได้อย่างไร
- สาเหตุที่หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมอบหมายงาน
- ประโยชน์ของการมอบหมายงาน
- นักมอบหมายงานที่ดี ต้องมีแนวคิดอย่างไร
- หลักคิดในการมอบหมายงาน (งานแบบไหนที่ควรมอบหมาย)
- เมื่อไหร่ที่ควรมอบหมายงาน
- เลือกคนที่เหมาะสมกับงานอย่างไร
- วิธีการมอบหมายงานที่ถูกต้อง