มารู้จักความหมายที่แท้จริงของ Q.S.C.
Q.S.C. คืออะไร? ทำไมทุกร้านต้องมี?
หากพูดถึง Q.S.C. คนที่อยู่ในวงการร้านอาหารหรือเคยอยู่มาก่อน ต้องรู้จักกันดีอยู่แล้ว ไม่ก็ต้องเคยได้ยินกันมาบ้าง วันนี้เราจะมาเคลียร์กันชัดๆ ไปเลยว่ามันคืออะไร แล้วทำไมร้านอาหารต้องมี ถ้ามีแล้วมันดียังไง ถ้าไม่มีแล้วมันจะเป็นอะไรไหม ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักความหมายของแต่ละตัวกันก่อนนะ
Q
Quality
คุณภาพ
S
Service
บริการ
C
Cleanliness
ความสะอาด
นี่เป็นแค่ความหมายที่แปลตามพจนานุกรม แต่ความหมายที่แท้จริงของ Q.S.C. นั้นลึกซึ้งมาก การจะนำไปใช้ก็ละเอียดอ่อนมากเช่นกัน เพราะ Q.S.C. เปรียบเสมือนหัวใจของร้านอาหาร ง่ายๆ เลย ลองนึกถึงคนเรา ไม่มีแขน ไม่มีขา ยังมีชีวิตได้ แต่ไม่มีหัวใจเราอยู่ไม่ได้ ร้านอาหารก็เช่นกัน หากไม่มี Q.S.C. ก็อยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน
นั่นแน่ะ! บางคนทำร้านอาหารอยู่ ผ่านมาอ่านบทความนี้ อาจกำลังมีคำถามอยู่ในใจว่า.. "เราก็ทำร้านอาหาร ไม่ได้ทำ Q.S.C. แต่ก็ยังอยู่ได้ ไม่เห็นเป็นไรเลย" จริงๆ แล้ว คุณอาจทำ Q.S.C. อยู่ เพียงแค่ทำโดยไม่รู้ตัว เพราะ Q.S.C. ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย แค่ต้องอาศัยความใส่ใจและความละเอียดรอบคอบเท่านั้นเอง ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าความหมายที่แท้จริงของแต่ละตัวคืออะไร
เริ่มที่ Q (Quality) กันก่อน คุณภาพของสินค้า ต้องดีและได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้ การจะผลิตสินค้าออกมาได้ตรงตามมาตรฐานเป๊ะๆ นั้น ใช่ว่าทำตามสูตร แล้วมันจะออกมาดีและตรงตามมาตรฐานเลย แต่มันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น
การคัดสรรวัตถุดิบ
จะต้องเลือกใช้วัตุดิบที่สดใหม่และมีคุณภาพที่ดีพอ
การเก็บรักษา
เมื่อได้วัตถุดิบมาแล้วต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ
การปรุง
จะต้องทำตามสูตร ตรวจสอบทั้งรสชาติและรูปลักษณ์ภายนอกให้ตรงตามาตรฐาน
การจัดจาน/บรรจุภัณฑ์
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องสะอาด จัดวางและตกแต่ง ให้เหมือนรูปตัวอย่าง
การเสิร์ฟ
ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปในอาหาร หรือติดอยู่ตามภาชนะ/บรรจุภัณฑ์
การส่งมอบให้ลูกค้า
ลูกค้าจะต้องได้รับสินค้าที่มีคุณภาพที่ตรงตามมาตรฐาน เหมือนกันทุกครั้งที่มาใช้บริการ
ทุกๆ องค์ประกอบที่กล่าวมา มีความสำคัญเท่ากันหมด หากขาดตัวใดตัวนึงไป ก็ไม่อาจส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของร้านได้ เพราะปลายทางอยู่ที่ลูกค้าที่มาใช้บริการ แน่นอนว่าลูกค้าต้องมาพร้อมความคาดหวังว่าจะได้ทานอาหารที่อร่อยเหมือนเดิมเหมือนทุกครั้งที่เคยมา
ตัวต่อมา S (Service) คือ บริการ อันนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ต่อให้อาหารอร่อยล้นฟ้า แต่บริการไม่ดี ก็ไม่อาจรั้งลูกค้าไว้ได้ ดังนั้นการบริการต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่สไตล์ของแต่ละร้านว่าจะออกแบบงานบริการของตัวเองออกมารูปแบบไหน ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจกับการบริการและรู้สึกอยากจะกลับมาใช้บริการอีก
ตัวสุดท้าย C (Cleanliness) คือ ความสะอาด ไม่ใช่แค่ความสะอาดของหน้าร้านหรืออาหารเท่านั้น แต่เกี่ยวเนื่องกับความสะอาดในทุกภาคส่วนของร้าน ทั้งพื้นที่ใช้สอยหน้าร้าน/หลังร้าน โต๊ะ เก้าอี้ ภาชนะ อาหาร รวมถึงตัวพนักงานเองก็ต้องสะอาดเช่นกัน เพราะความสะอาดมันเป็นสะท้อนกลับไปถึงคุณภาพสินค้าและบริการด้วย
มาถึงตอนนี้ ทุกคนได้เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของ Q.S.C. กันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ และอย่างที่บอกว่า Q.S.C. มันละเอียดอ่อนมากจริงๆ ร้านอาหารชั้นนำหลายๆ ร้านจะมีคู่มือและเช็คลิสต์สำหรับทำ Q.S.C. เพื่อใช้เป็นแม่แบบ ในการตรวจเช็คให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการที่ส่งมอบออกไปให้กับลูกค้านั้น มีคุณภาพตามมาตรฐานของร้าน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในสินค้าของเราว่ามีคุณภาพจริงๆ รวมถึงบริการที่ดี จะทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการอีก
ที่สำคัญอีกอย่างของการทำ Q.S.C. ในฐานะผู้ให้บริการไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทไหน ก็จะรู้สึกสบายใจที่ได้ส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพออกไป และมั่นใจได้ว่าลูกค้าจะต้องประทับใจในสินค้าและบริการอย่างแน่นอน
เราสามารถช่วยคุณนำ Q.S.C. ไปใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำ Q.S.C. ไปใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มที่ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของ Q.S.C. และทำไมถึงต้องทำตามหลัก Q.S.C. ก่อน จากนั้นค่อยเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ เมื่อนำไปใช้แล้ว ก็ต้องวัดผลได้ว่าสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ในระดับไหน เป็นไปตามที่องค์กรคาดหวังไว้หรือไม่ หากผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่จุดเริ่มต้น ว่าเราพลาดในจุดไหน แล้วจะพัฒนาตรงจุดนั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อสร้างความประทับใจสูงสุดให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ
เราขอแนะนำ 4 บริการที่จะช่วยสร้างมาตรฐานและยกระดับ Q.S.C.
In-House Training
ทำความรู้จักกับ Q.S.C.
การจัดอบรมแบบ In-House Training จะช่วยให้ทุกคนในองค์กร เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงและความสำคัญของ Q.S.C. ซึ่งทุกคนจะได้จะมาคิดพิจารณาร่วมกันว่าทำไม Q.S.C. (Quality, Service, Cleanliness) จึงจำเป็นต่องานด้านบริการ และกำหนดแผนงานที่เป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับ Q.S.C. ของร้านให้ได้มาตรฐานในระดับสากล
Manual
นำ Q.S.C. ไปใช้อย่างไรให้ได้ผล
การนำ Q.S.C. ไปใช้ให้ได้ผล ต้องเริ่มจากการสร้างแม่แบบมาตรฐาน ในการทำงานก่อน เพื่อให้ทุกคนทราบถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐานตามที่องค์กรกำหนด ดังนั้นทุกองค์กรจำเป็นต้องมี คู่มือปฏิบัติงาน ที่ระบุรายละเอียดและขั้นตอนการทำงานไว้อย่างชัดเจน
Q.S.C. Checklist
ติดตามและวัดผล
หลังจากที่นำ Q.S.C. ไปใช้ในองค์กรแล้ว จะต้องมีการติดตามและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง Q.S.C. Checklist เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาช่วยชี้วัดคุณภาพและมาตรฐาน ว่ายังอยู่ในมาตรฐานที่องค์กรตั้งไว้หรือไม่ มีจุดไหนที่ยังต้องปรับปรุง หรือมีจุดไหนที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นไปได้อีก
SV Check
ลูกค้าคิดอย่างไรกับสินค้า/บริการ
การทำ SV Check เป็นเสมือนกระจกสะท้อนคุณภาพมาตรฐานสินค้า/บริการ ซึ่งเราจะได้ทราบความคิดเห็นในมุมมองของลูกค้าที่เราอาจคิดไม่ถึง โดยจะมีผู้ชำนาญการด้าน SV (Supervision) เข้าไปทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า/บริการหน้าร้าน โดยไม่ให้พนักงานรู้ตัว
หากคุณอยากนำ Q.S.C. ไปใช้ในองค์กร เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการพูดคุยกับเรา เพียงบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจหรือความต้องการของคุณ เราพร้อมที่จะนำบริการไปปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจและร่วมลงมือพัฒนา เพื่อยกระดับ Q.S.C. ไปด้วยกันกับคุณ
สนใจตรวจ QSC Check ลงทะเบียนเลย!